Search

คลอดกลไกจัดการน้ำท้องถิ่น ให้ชุมชนกุมชะตาชีวิตตนเอง - ไทยรัฐ

jumalagi.blogspot.com

ต้องยอมรับความจริง ปัญหาสำคัญของการบริหารจัดการน้ำบ้านเราในอดีต ต้องมาเจอท่วมแล้งซ้ำซาก นั่นเพราะการบริหารจัดการซับซ้อน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบมากถึง 48 หน่วยงาน ไม่มีแกนหลัก เข้ามาดูแลในภาพรวม...ในขณะที่ปัญหาเกิดขึ้นอยู่ในระดับท้องถิ่น กลไกการทำงานกลับอยู่ในสภาพหยุดชะงัก ไร้แรงขับเคลื่อน

“หลักของงานบริหารจัดการน้ำ นอกเหนือจากการขับเคลื่อนของหน่วยงานส่วนกลางแล้ว ยังต้องอาศัยกลไกหน่วยงานระดับท้องถิ่นเป็นแขนขาในการลงมือทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ชี้ให้เห็นปัญหาการบริหารจัดการน้ำของไทยที่เกิดจากกลไกการทำงานของรัฐ

นอกจากจะมีปัญหาหน่วยงานส่วนกลางมีมากจนเกิดความสับสน การขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ มีทั้งทำงานทับซ้อนกัน และมีพื้นที่เป็นสุญญากาศไม่มีหน่วยงานไหนดูแล...ยังมีเรื่องการถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2544 มีการถ่ายโอนโครงการแหล่งน้ำขนาดเล็กจากหน่วยงานต่างๆให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น อบต. เทศบาล รับไปดูแลต่อ

ทั้งที่องค์กรเหล่านี้ขาดแคลนทั้งงบประมาณ องค์ความรู้ บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ทำให้ไม่มีความพร้อมในการจัดการปัญหาน้ำในพื้นที่ให้ชาวบ้านได้

ด้วยเหตุนี้ การปฏิรูประบบ บริหารจัดการน้ำของประเทศ จึงมีการรื้อโครงสร้างหน่วยงานด้านน้ำของประเทศใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ระดับนโยบายไปจนถึงระดับลุ่มน้ำในท้องถิ่น

“ระดับนโยบายเรามี คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และ สทนช. เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน ในระดับ
ลุ่มน้ำมี คณะกรรมการลุ่มน้ำ 22 ลุ่มน้ำ เป็นกลไกหลักในการเชื่อมโยงนโยบาย การวางแผนงาน ไปยังระดับปฏิบัติการ ประชาชน และองค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ โดยมี คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด 76 จังหวัด เป็นกลไกเชื่อมต่อเพื่อนำแผนปฏิบัติการต่างๆ ไปขับเคลื่อนในระดับท้องถิ่นและชุมชนแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนการ บริหารจัดการน้ำเป็นไปอย่างมีเอกภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น”

ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด จะมีหน้าที่ตั้งแต่การจัดทำแผนงาน แผนปฏิบัติการ แผนงบประมาณบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามกรอบแผนแม่บทระดับลุ่มน้ำ ทั้งในภาวะปกติ และภาวะวิกฤติ สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการลุ่มน้ำ ติดตาม ประเมินผล การดำเนินงานตามแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และรายงานต่อ กนช.

“ถือเป็นมิติใหม่ของการบริหารจัดการน้ำประเทศ ไทย เพราะที่ผ่านมาหน่วยงานในระดับท้องถิ่นไม่เคยทำงานร่วมกับส่วนกลางในเรื่องนี้มาก่อน และไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความรู้ความเชี่ยวชาญ เพราะในคณะอนุกรรมการจะมีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ทำหน้าที่ประสานและให้การสนับสนุนอยู่แล้ว”

นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด ยังจะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดแนวทางการพัฒนาลุ่มน้ำในพื้นที่ของตัวเอง สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนมีความจำเป็นเร่งด่วน โครงการไหนควรมีพื้นที่ไหน และใครจะเป็นผู้ลงมือทำ

ทำให้ในอนาคต ชุมชนสามารถกำหนดชะตาชีวิตลุ่มน้ำได้ด้วยตัวเอง.

ชาติชาย ศิริพัฒน์

อ่านเพิ่มเติม...




August 21, 2020 at 07:05AM
https://ift.tt/3hjlRyR

คลอดกลไกจัดการน้ำท้องถิ่น ให้ชุมชนกุมชะตาชีวิตตนเอง - ไทยรัฐ

https://ift.tt/3dwhiPy


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คลอดกลไกจัดการน้ำท้องถิ่น ให้ชุมชนกุมชะตาชีวิตตนเอง - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.